วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

               ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงระเบียบวิธีวิจัยไว้ว่า  การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
                ก.  ประชากร (
Population) และตัวอย่าง (Sample)
                ข.  การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
                ถ้ารูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงส่วนที่
3 อันได้แก่ การกำหนดสิ่งที่ต้องการทดสอบ หรือสิ่งแทรกแซง (intervention)
                1.  ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
                                1.1  หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
                                1.2  เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง (population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้
                ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง
(sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
                เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น
2 วิธีคือ
                ก.  การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น
(Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
                                (i)  การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
                                (ii)  การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
                                (iii)  การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
                                (iv)  การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
                                (v)  การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)

                ข.  การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
                                (i)   เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
                                (ii)  เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
                                (iii)  เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
                                (iv)  เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
                                1.3  การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
                2.  การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง                            

                                2.1  ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่ม, ระดับจัดอันดับ, ระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
                                2.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่ง, ตวง, วัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
                3.  วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใคร? ทำอะไร? ให้แก่ใคร? ด้วยวิธีอย่างไร? โดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่? อย่างไร? รวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น          อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-intervention และ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย
                http://www.gotoknow.org/posts/375613  ได้รวบรวมและกล่าวถึงระเบียบวิธีวิจัยไว้ว่า  ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
                 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก
                เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์

                เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษ์นิยม (Empiricism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด
                แต่อย่างไรก็ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย คือ กลุ่มปฏิฐานนิยม (
Positivism) และกลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) รายละเอียดดังนี้
                กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัสจับต้อง แจงนับ วัดค่าได้ คือมีความเป็นปรนัย (Objectivity) และเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่าย ๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอซึ่งเรียนว่า กฎธรรมชาติ (Natural law) เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงจากกฎที่ค้นพบนี้ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดตามที่ต้องการ ความเชื่อของกลุ่มปฏิฐานนิยมนี้เป็นบ่อเกิดของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ซึ่งนับเป็นกระแสหลัก (Main stream) ที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ
                กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) ในกลุ่มนี้มีพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับการมองและศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์แตกต่างไปจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ โดยที่มีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูงมาก ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่สามารถกระทำได้ด้วยการแจงนับ วัดค่าเป็นตัวเลข หากแต่ต้องเข้าใจถึงความหมายและคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนดังกล่าวเสียก่อน จากพื้นฐานความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology) ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับที่จะนำมาศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
                http://graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting%28F%29/unit2/U2_7/01.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงระเบียบวิธีวิจัยไว้ว่า  ระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก


 สรุป
                ระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก

                ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology)





ที่ม
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://www.gotoknow.org/posts/375613.  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting%28F%29/unit2/U2_7/01.html .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น