วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อตกลงเบื้องต้น ( Assumption )


                  ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )   ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า  การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
                 http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นไว้ว่า  ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริง แล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์
                พิชิต  ฤทธิ์จรูญ (2544:376)   เป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงสนับสนุนอ้างอิงและเชื่อถือได้


สรุป
                ข้อตกลงเบื้องต้น (
assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัย  ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย





ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
 http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ
.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น