วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

กรอบแนวความคิดในการวิจัย ( Conceptual ramework )



                ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงกรอบแนวความคิดในการวิจัยไว้ว่า  การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว
               
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ (2550 : 9)  แนวคิดหรือแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีข้อสรุปเชิงประจักษ์ข้อมูลจากสมมติฐานและผลงานวิจัยในอดีตนำมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ภาพรวมของงานวิจัยเรื่องนั้นเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในเรื่องที่ศึกษานั้นว่ามีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้างในปรากฏการณ์นั้นตัวแปรหรือปรากฏการณ์เชื่อมโยงเกี่ยวกันอย่างไรเพื่อจะนำความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ไปตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่
               
http://www.gotoknow.org/posts/462279  ได้รวบรวมและกล่าวถึงกรอบแนวความคิดในการวิจัยไว้ว่า  กรอบแนวความคิดในการวิจัย  คือ กรอบความคิดที่ใช้เป็นแนวทางการศึกษาในงานวิจัย โดยผู้วิจัยจะประมวลแนวคิดทั้งหมดในการวิจัย มาจัดวางลำดับแนวความคิดการทำงานวิจัย  ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 

สรุป
                กรอบแนวความคิดในการวิจัย  หมายถึง กรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ  ประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา
  เพื่อหาคำตอบในการวิจัยโดยมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีรองรับ มิใช่กำหนดขึ้นตามความพอใจโดยปราศจากหลักเกณฑ์  สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ.  (2550).  วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.  นครสวรรค์http://www.gotoknow.org/posts/462279   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.

 







             

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น