วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

เอกสารอ้างอิง (References)

                 ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเอกสารอ้างอิงไว้ว่า  ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
                การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "
Vancouver Style"  ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al

                พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:65)  กล่าวว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น
                วัลลภ ลำพาย (2547:65)  กล่าวว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ


สรุป
                การเขียนรายงานการวิจัยเมื่อได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนในเนื้อเรื่องแล้ว เมื่อจบรายงาน การวิจัยจะต้องรบกวนหนังสือ เอกสารและหลักฐานที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันท้ายรายงาน ซึ่งรายการหนังสือทั้งหลายที่รวบรวมไว้นี้ เรียกว่า บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล :  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ :  ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
วัลลภ ลำพาย.  (2547).  เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น