วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

                     ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงการรวบรวมข้อมูลไว้ว่า  การรวบรวมข้อมูล  โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร  จากแหล่งไหน  (source of data) เก็บอย่างไร  ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน  อย่างไร  และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
                พิสณุ  ฟองศรี (2549:47)  กล่าวว่า  การรวบรวมข้อมูลเป็นการนำเครื่องมือการวิจัยประเภทต่างๆมาดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลตามต้องการ โดยทั่วไปแล้วข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งเก็บข้อมูลจากแหล่งจริงของปรากฏการณ์ โดยอาจใช้วิธีการทดสอบ สอบถา/สัมภาษณ์ หรือหลายวิธีประกอบกัน อีกประเภทหนึ่งคือ ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเก็บจากแหล่งที่มีการรวบรวมไว้แล้ว หรือไม่สามารถจะเก็บจากแหล่งจริงได้ โดยอาจใช้การบันทึกหรือวิธีอื่น ข้อมูลประเภทนี้จะมีคุณค่าต่ำกว่าข้อมูลปฐมภูมิ เพราะมีความคลาดเคลื่อนระหว่างรวบรวม แต่จะเก็บได้สะดวก ปัจจุบันบางท่านได้เพิ่มเป็นข้อมูลตติยภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมไว้ในแผ่นดิสเกตต์ต่างๆ การเก็บข้อมูลในการวิจัยต้องเก็บเป็นจำนวนมากนอกพื้นที่ ซึ่งมีขั้นตอนและใช้เวลามาก
                ภัทรา  นิคมานนท์ (2542:47)  กล่าวว่า  การรวบรวมข้อมูลเป็นการนำเครื่องมือการวิจัยที่เตรียมไว้ไปรวบรวมข้อมูลจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ มีวิธีการรวบรวมข้อมูลได้หลายวิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต การใช้แบบสอบถาม การทดสอบ ฯลฯ การพิจารณาเลือกวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวิจัยและองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการวิจัย ซึ่งได้แก่ ประสบการณ์ของผู้วิจัย เวลางบประมาณ ฯลฯ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยมี 2 ลักษณะคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิง


สรุป
                การรวบรวมข้อมูลเป็นการนำเครื่องมือการวิจัยประเภทต่างๆมาดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลตามต้องการ โดยทั่วไปแล้วข้อมูลจะแบ่งเป็น
2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งเก็บข้อมูลจากแหล่งจริงของปรากฏการณ์ โดยอาจใช้วิธีการทดสอบ สอบถา/สัมภาษณ์ หรือหลายวิธีประกอบกัน อีกประเภทหนึ่งคือ ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเก็บจากแหล่งที่มีการรวบรวมไว้แล้ว หรือไม่สามารถจะเก็บจากแหล่งจริงได้ โดยอาจใช้การบันทึกหรือวิธีอื่น ข้อมูลประเภทนี้จะมีคุณค่าต่ำกว่าข้อมูลปฐมภูมิ เพราะมีความคลาดเคลื่อนระหว่างรวบรวม แต่จะเก็บได้สะดวก ปัจจุบันบางท่านได้เพิ่มเป็นข้อมูลตติยภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมไว้ในแผ่นดิสเกตต์ต่างๆ การเก็บข้อมูลในการวิจัยต้องเก็บเป็นจำนวนมากนอกพื้นที่ ซึ่งมีขั้นตอนและใช้เวลามาก
                การรวบรวมข้อมูล  โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร  จากแหล่งไหน
  (source of data) เก็บอย่างไร  ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน  อย่างไร  และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้




 ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล :  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิสณุ
  ฟองศรี.  (2553).  วิจัยทางการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ภัทรา นิคมานนท์. 
(2542).  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น