วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย ( Background & Rationale )


              http://www.kamsondeedee.com/school/chapter-001/59-2008-12-11-07-10-31  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย  อาจเรียกแตกต่างกัน  เช่น  ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา  หลักการและเหตุผล  ภูมิหลังของปัญหา  ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย  หรือ  ความสำคัญของโครงการวิจัย  ฯลฯ  รวมทั้งความจำเป็น  คุณค่า  และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้  โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร  และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง  ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง  และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
                การเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น  มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ  ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง  กรณีที่เป็นศิลปนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้  โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญหรือประโยชน์ของการทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล  ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้าหากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร  แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย

                http://tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=483:research-tips-37&catid=73:research-secrets&Itemid=89  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า
               
1.  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง โดยประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ  จำนวนผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย  ผลประโยชน์จะตกไปถึงผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
                2.  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำวิจัยเรื่องนี้คืออะไร  โดยประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ  ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้และต้องการได้คำตอบ  ( เนื่องจากมีความสำคัญ ตามข้อ 1. )
                3.  หากทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัยเรื่องนี้ ยิ่งจะดีมาก  โดยประเมินจากความเชี่ยวชาญ  ผลงานที่ผ่านมา  ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ความได้เปรียบเรื่องข้อมูล
            อะไรที่เขียนแล้วยืดเยื้อและไม่สามารถ นำไปสู่เป้าหมายสามอย่างนี้   ไม่ควรเขียนไว้ในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้ เขวทั้งในประเด็นปัญหา และความเป็นมืออาชีพของผู้วิจัย
                http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยไว้ว่า   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร


สรุป
                ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
หัวใจของการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา มีดังนี้

                1.  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง โดยประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ  จำนวนผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย  ผลประโยชน์จะตกไปถึงผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
                 2.  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำวิจัยเรื่องนี้คืออะไร โดยประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้และต้องการได้คำตอบ  (เนื่องจากมีความสำคัญ ตามข้อ 1.)
                3. หากทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัยเรื่องนี้ ยิ่งจะดีมาก โดยประเมินจากความเชี่ยวชาญ  ผลงานที่ผ่านมา  ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ความได้เปรียบเรื่องข้อมูล
                อะไรที่เขียนแล้วยืดเยื้อและไม่สามารถ นำไปสู่เป้าหมายสามอย่างนี้   ไม่ควรเขียนไว้ในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้ เขวทั้งในประเด็นปัญหา และความเป็นมืออาชีพของผู้วิจัย




ที่มา
 http://www.kamsondeedee.com/school/chapter-001/59-2008-12-11-07-10-31  เข้าถึงเมื่อวันที่   9  ธันวาคม  2555.
http://tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=483:research-tips-37&catid=73:research-secrets&Itemid=89   เข้าถึงเมื่อวันที่   9  ธันวาคม  2555.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่   9  ธันวาคม  2555.


      

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ชื่อเรื่อง ( The Title )


                    http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงชื่อเรื่องวิจัยไว้ว่า  ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย   ดังนั้น  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย  ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                1.  ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น  โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
                2.  ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา  เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที  อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง  และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
                3.  ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย  ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                                3.1  การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
                                3.2   การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
                                3.3  การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
                                3.4  การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
                                3.5  การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
                4.  ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม  ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                                ไม่ดี        :             ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
                                ดีขึ้น       :             การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
                                ไม่ดี        :
            เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของ 
                                                            
โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
                                ดีขึ้น       :
             การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง
                                                             ของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย

                5.  ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
                อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น
                 
                ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์  และอัจฉรา  ชำนิประศาสน์(2537:33)  กล่าวว่า  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น  2  แนวคิด  คือ  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย   มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน  ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร  กับใคร ที่ไหน  เมื่อใด  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้น ๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
                
                เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์(2534:32)  กล่าวว่า  ต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง  โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม


สรุป               
                 ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัย  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น  2  แนวคิด  คือ  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย   มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน  ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร  กับใคร ที่ไหน  เมื่อใด  การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้น ๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย  และชื่อเรื่องต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง  โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม




ที่มา
http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm    เข้าถึงเมื่อวันที่   3  ธันวาคม  2555.
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์.  (2547).  ระเบียบวิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ :  พิมพ์ดีการพิมพ์  จำกัด.
เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์.  (2537).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ :  สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.