วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ( Objective (s) )



               ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า  ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
                โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                ก.  วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                ข.  วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
                http://www.gotoknow.org/posts/399434  ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) หรือบางท่าน สถาบันกำหนดรูปแบบโดยใช้คำว่า จุดมุ่งหมายการวิจัย (Research purposes) ในการเขียนรายงานวิทยานิพนธ์
                สิทธิ์  ธีรสรณ์ (2552)  กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย(Research Objectives) หรือ จุดมุ่งหมายการวิจัย (Research purposes) เป็นการระบุกิจกรรมหรืองานที่ผู้วิจัยต้องทำ ในอันที่จะได้มาซึ่งคำตอบในการวิจัย
                สิน พันธุ์พินิจ (2553)  กล่าวถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย ไว้ว่า วัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเสมือนเข็มทิศการดำเนินการวิจัย ช่วยให้เราทราบว่าเราจะค้นหาคำตอบอะไรจากข้อคำถามบ้าง การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยก็เป็นการจำแนกประเด็นการวิจัย หรือตัวแปรออกมาให้เห็นเป็นข้อย่อยที่ชัดเจน มีความเป็นวัตถุวิสัย และสามารถดำเนินการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า   วัตถุประสงค์ของการวิจัย  เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาใน ประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                1.  วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                  ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                2.  วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                                2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                                2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

สรุป
                วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น
2 ชนิด คือ
                1.  วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                2.  วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล :  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://www.gotoknow.org/posts/399434   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921
  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.



               





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น