วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล ( Information Processing Theory )


               ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2 (  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
               
                http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  คิดค้นโดย Klausmeier ทฤษฏีนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ด้านการทางานของสมองโดยมีแนวคิดว่าการทางานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีทฤษฏีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ , 2552 : หน้า 31-33)
ทฤษฏีการเรียนรู้
               
Klausmeier กล่าวว่าสมองของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้เหมือนการทางานของคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนการทางาน 3 ขั้นตอนดังนี้
               
1.  การรับข้อมูล (input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล   
                กระบวนการประมวลข้อมูลเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจาระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (recognition) และ ความใส่ใจ (attention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจาระยะสั้น (short – term memory) ซึ่งจะอยู่ในระยะเวลาที่จากัด ในการทางานที่จาเป็น ต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจาเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆในการช่วยจา เช่น การจัดกลุ่มคาหรือการท่อช้าๆซึ่งจะช่วยให้จาได้
                2.  การเข้ารหัส (encoding) ทาได้โดยอาศัยชุดคาสั่ง หรือซอฟแวร์ (software)
                การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ทาได้โดยข้อมูลนั้นต้องได้รับการประมวล และเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส เพื่อนาไปเก็บไว้ในความจาระยะยาว
(long – term memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วย เช่น การทาข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่าเป็นกระบวนการขยายความคิด (elaborative operations process)
               
ความจาระยะยาวมี 2 ชนิด คือ ความจาที่เกี่ยวกับภาษา (semantic) และความจาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (episodic)
               
ความจาระยะยาวมี 2 ประเภท คือ ความจาประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) หรือ ความจาประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory)
               
3.  การส่งข้อมูลออก (output) ทาได้โดยผ่านทางอุปกรณ์
               
เมื่อข้อมูลได้รับการบันทึกไว้ ในความจาระยะยาวแล้วบุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่างๆออกมาใช้ได้ การเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลต้องถอดรหัสข้อมูล
(decoding) จากความจาระยะยาวนั้น และส่งผลต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหวหรือการพูด สนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
ทาได้ดังนี้

               
1.  การนาเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและ รับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่อมโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้
               
2.  ผู้สอนควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
               
3.  ข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว จะถูกนาไปเก็บไว้ในความจาระยะสั้น หากต้องการที่จะจาสิ่งนั้นนานๆต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย เช่น การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง หรือ การจัดสิ่งที่จา ให้เป็นหมวดหมู่ง่ายแก่การจา เป็นต้น
               
4.  การจะให้ผู้เรียนจดจาเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานาน เนื้อหาสาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส เพื่อนาไปเข้าหน่วยความจาระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การท่องจาซ้าๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด ซึ่งได้แก่ การเรียบเรียง ผสมผสาน ขยายความ และการสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
               
5.  การที่บุคคลไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บไว้ได้อาจจะเป็นเพราะไม่สามารถเรียกข้อมูลให้ขึ้นถึงระดับจิตสานึกได้(conscious level) หรือเกิดการลืมขึ้น
ข้อมูลที่ถูกนาไปเก็บไว้ในหน่วยความจาระยะสั้นหรือระยะยาว แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้ โดยผ่าน effector ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทาให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกมาเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
                6.  การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทาให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทาการต่างๆอันจะทาให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการเรียนรู้ได้
               
              
ปริวัตร  เขื่อนแก้ว (  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm )ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด


สรุป
                ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) คือ การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น เปรียบเสมือนการรับข้อมูล การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวล เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว เช่น การท่องจำ เปรียบเสมือนการเข้ารหัส และการจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่างๆ ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ ก็เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์





ที่มา
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2  :  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  . เข้าถึงเมื่อวันที่  กรกฎาคม 2555.
http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf . เข้าถึงเมื่อวันที่  กรกฎาคม 2555.
ปริวัตร  เขื่อนแก้ว  :  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่  กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น