วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีพหุปัญญา ( Theory of Multiple Intelligences )

             
                ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2 ( http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
                1.  เชาวน์ ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
                -  เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
                -  สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                เชาวน์ ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

                2.  เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                หลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดย ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

               
                http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  ทฤษฏีพหุปัญญาคิดค้นโดย การ์ดเนอร์ (Gardner) ซึ่งมีทฤษฏีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2552 : หน้า 33-36)
ทฤษฏีการเรียนรู้
                การ์ดเนอร์ เชื่อว่า เชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่อย่างหลากหลายถึง
8 ประการ หรือ อาจมากกว่านี้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสมารถที่ผสมผสานกันออกมา ทาให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
เชาว์ปัญญาที่การ์ดเนอร์ แบ่งไว้
8 ด้าน มีดังนี้
                1.  ด้านภาษา ( Linguistic intelligence ) แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดการอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คาศัพท์ การแสดงออกของความคิด การเล่าเรื่อง เป็นต้น
                2.  ด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) ผู้มีอัจฉริยภาพด้านนี้มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทาอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทาคณิตศาสตร์ได้ดี
                3.  ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) แสดงออกทางด้านศิลปะ การวาดภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่างๆ มักจะเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เป็นต้น ปัญหาด้านนี้ถูกคุมด้วยสมองซีกขวา
                4.  ด้านดนตรี (Musical intelligence) แสดงออกทางความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่งเพลง ไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ ปัญญาด้านนี้ถูกคุมด้วยสมองซีกขวาเช่นกัน
                5.  ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) สมองส่วน คอร์เท็กซ์คุมปัญญาด้านนี้ โดยด้านซ้ายคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา ด้านขวาคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ซึ่งจะแสดงออกในด้านการเล่นกีฬา เล่นเกมต่างๆ การแสดง การเต้นรา เป็นต้น
                6.  ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่คุมปัญญาด้านนี้ ซึ่งจะแสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทางานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ เป็นต้น ผู้มีปัญญาด้านนี้มักจะชอบช่วยเหลือ และให้คาปรึกษาแก่ผู้อื่น
                7.  ด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence) ปัญญาด้านนี้มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อยมี 2 ด้าน ซึ่งจะแสดงออกด้วยการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด ชอบความเงียบสงบ เป็นต้น
                8.  ด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence) ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจาแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆรอบตัว คนที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ ชอบ และสนใจสัตว์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำได้ดังนี้

                1.  ผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาว์ปัญญาหลายๆด้าน
                2.  ผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน
                3.  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ผู้สอนควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งนี้เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากัน ทาให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทาให้แต่ละคนแตกต่างกัน และความแตกต่างที่หลากหลาย (diversity) นี้ สามารถนามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมได้
                4.  ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรประเมินหลายๆด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหา ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาว์ปัญญาด้านนั้นๆ
               
                http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
                1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
                -  เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
               
-  เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logicalmathematicalintelligence)  
                -  สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                -  เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
               
-  เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
               
-  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
 คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                2.  เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้
 คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น


สรุป
                ทฤษฎีพหุปัญญา(
Theory of Multiple Intelligences)  เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกัน  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน การเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน




ที่มา
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป
. อุตรดิตถ์ เขต 2 : http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  . เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม 2555.
http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf . เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม 2555.
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น