วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย ( Gagne’s eclecticism )


                ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2 ( http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=97 ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   แนว คิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
                ขั้นที่
1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
                ขั้นที่
2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
                ขั้นที่
3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
                ขั้นที่
4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
                ขั้นที่
5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
                ขั้นที่
6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
                ขั้นที่
7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
                ขั้นที่
8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
                ขั้นที่
9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)         
               
                pirun.ku.ac.th/~g521460090/files/ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่.doc.  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  โรเบิร์ต กาเย  (Robert  Gagne)  เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002)   ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition  of  Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยอธิบายว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ  3  ส่วน  คือ
ก.  หลักการและแนวคิด
                1.  ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ
                                -  ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill)  ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ  การสร้างความคิดรวบยอด   การสร้างกฎ   การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
                                -  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)
                                -  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)
                                -  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)
                                -  และเจตคติ (attitude)
                2.  กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน   กาเย่จึงได้
เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
ข.  วัตถุประสงค์
                เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ  ได้อย่างดี   รวดเร็ว  และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน
ค.  กระบวนการเรียนการสอน
                กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์   หลักการสอน  9  ประการ  ได้แก่ 1)  เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)  2)  บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)  3)  ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)   4)  นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)  5)  ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)  6)  กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) 7)  ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) 8)  ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) และ 9)  สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)   รายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
                1.  เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
                กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียนการเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ  เช่น  การใช้ภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว และ/หรือการใช้เสียงประกอบบทเรียนในส่วนบทนำ

                2.  บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
                การ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะการเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดย   การเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง   ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง  อีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเนื้อหาเฉพาะที่ตนยังขาดความเข้าใจที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่ได้กำหนดไว้

                3.  ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
                การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธี  เช่น  กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม  หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว  เป็นต้น

                4.  นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
                การนำเสนอบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน  คือ  การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ  เสียง   หรือแม้กระทั่ง
 วีดิทัศน์   อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
                5.  ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
                การชี้แนวทางการเรียนรู้  หมายถึง  การชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

                6.  กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
                นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมการสนทนาออนไลน์รูปแบบ Synchronous หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดในรูปแบบ  Asynchronous  เป็นต้น
                7.  ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
                ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการเรียนการสอนบนเว็บก็คือการที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด   เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้นเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล  และด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา  ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก  

                8.  ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
                การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง  เพราะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ  การทดสอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบ   ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย  การจัดทำกิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น  ซึ่งการทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถทำการทดสอบบนเว็บผ่านระบบเครือข่ายได้

                9.  สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
                การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ   รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ   เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว   ในขณะเดียวกันบทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม   เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไปหรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป

               
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 ( http://dontong52.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne)
 1
.  ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
                -  การเรียนรู้สัญญาณ
               -  การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง
                -  การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
                 -  การเชื่อมโยงทางภาษา
                -  การเรียนรู้ความแตกต่าง
                -  การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
                 -  การเรียนรู้กฎ
                 -  การเรียนรู้การแก้ปัญหา 
2
.  การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
                -  สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
                -  ทักษะเชาว์ปัญญา
                -  ยุทธศาสตร์ในการคิด
                -  ทักษะการเคลื่อนไหว
                -  เจตคติ


สรุป
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)   ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการผสมผสานหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีต่าง ๆ  เข้ามาร่วมกันเพื่อทำให้นักเรียนสามารถเลือกใช้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว  ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการผสมผสานหลักทฤษฎีเข้าด้วยกัน  การจัดกระบวนการให้เชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้หรือแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง  แล้วเอาความรู้พื้นฐานของตนมาร่วมคิดประกอบก่อนตัดสินใจ ตอบสนอง  หรือแก้ปัญหานั้น ๆ




ที่มา
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2  :  http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=97  . เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม  2555 .
pirun.ku.ac.th/~g521460090/files/ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่.doc. เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม  2555 .
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 :  http://dontong52.blogspot.com/  . เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม  2555 .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น