วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาคผนวก (Appendix)

                ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงภาคผนวกไว้ว่า  สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
                พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:45)  ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
                เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535:45)  ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง


สรุป 
                 ภาคผนวกคือข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำมาใส่เอาไว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
เรืองอุไร ศรีนิลทา.  (2535).  ระเบียบวิธีวิจัย.  กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.





เอกสารอ้างอิง (References)

                 ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเอกสารอ้างอิงไว้ว่า  ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
                การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "
Vancouver Style"  ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al

                พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:65)  กล่าวว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น
                วัลลภ ลำพาย (2547:65)  กล่าวว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ


สรุป
                การเขียนรายงานการวิจัยเมื่อได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนในเนื้อเรื่องแล้ว เมื่อจบรายงาน การวิจัยจะต้องรบกวนหนังสือ เอกสารและหลักฐานที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันท้ายรายงาน ซึ่งรายการหนังสือทั้งหลายที่รวบรวมไว้นี้ เรียกว่า บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล :  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ :  ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
วัลลภ ลำพาย.  (2547).  เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.





งบประมาณ (Budget)

               ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงงบประมาณไว้ว่า  การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
                ก.  หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
                ข.  หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
                ค.  หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
                ง.  หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
                การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน

                 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมและกล่าวถึงงบประมาณไว้ว่า  งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
                1.  เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
                2.  ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม

                3.  ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                4.  ค่าครุภัณฑ์
                5.  ค่าประมวลผลข้อมูล
                6.  ค่าพิมพ์รายงาน
                7.  ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
                8.  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
                กิ่งกนก  พิทยานุคุณ(2527:43)  ได้สรุปความหมายของงบประมาณ คือ การจำกัดวงเงินที่จะใช้งบประมาณประจำปี  เป็นการแสดงวัตถุประสงค์ที่ฝ่ายบริหารมีอยู่ในขณะนั้นออกมาเป็นตัวเลข  รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงาน และวิธีการจัดหาเงินมาใช้ในองค์การ ในระหว่างปีด้วย


สรุป
               การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
                ก.  หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
                ข.  หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
                ค.  หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
                ง.  หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
                การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.  เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
กิ่งกนก  พิทยานุคุณ  และคณะ.  (2527).  การบัญชีต้นทุน.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
   

 



การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

               ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงการบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงานไว้ว่า  การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
                1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                2.  กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                                -   ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
                                -   ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                                -  ติดต่อผู้นำชุมชน
                                -  การเตรียมชุมชน
                                -  การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                                -  การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                                -  การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                                -  การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                                -  การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                                -  ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
                                -  ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                                -  ขั้นการเขียนรายงาน
                3.  ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
                4.  การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
                สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                                ก.  การจัดองค์กร
(Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                                ข.  การสั่งงาน
(Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
                                ค.  การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart)
                                ง.  การควบคุมโครงการ (
Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantt’s chart
                                นอกจาก
Gantt’s chart แล้ว ยังอาจทำเป็น โครงข่ายปฏิบัติงาน (Network technique) ซึ่งเป็นการ แสดงเหตุการณ์ (event), กิจกรรม (activities) และเวลา (time) ให้เห็น เป็นโครงข่ายงาน ว่าต้องการ ให้เกิดอะไร จะทำอะไรก่อน หลัง โดยใช้ระยะเวลา เท่าไร
                                จ.  การนิเทศงาน
(Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
                เสนาะ ติเยาว์ (2544:1)  ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
                1.  การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
                2.  การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                3.  การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
                4.  การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                5.  การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
                พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545:728)  การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

สรุป               
                การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
                1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                2.  กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้                3.  ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
                4.  การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
เสนาะ ติเยาว์
.  (2544).  หลักการบริหาร.  (พิมพ์ครั้งที่ 2).   กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.  (2545).  ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.  (พิมพ์ครั้งที่ 5).   กรุงเทพฯ : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.










อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข (obstacles and Strategies to solve the problems)


              ภิรมย์ กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไขไว้ว่า  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
                ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้
"การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign) ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่อนและหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง
                สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6)  กล่าวว่า  อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ  สรุปได้  ดังนี้
                                1.  ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
                                2.   ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
                                3.   มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
                                4.  นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
                                5.  ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
                 แนวทางการแก้ไข
                                1.  กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                                2.  สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                                3.  ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                                4.  ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                                5.  มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
                ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)  กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
                แนวทางการแก้ไข
               
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

สรุป
                การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้และมองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง



ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.  (2538).  หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.  กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.  (2531).  หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ หอสมุดกลาง.






ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

              ภิรมย์  กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยไว้ว่า  ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
                พจน์ สะเพียรชัย (2516:169)  กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
                รวีวรรณ ชินะตระกลู (2540:79)  กล่าวว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ

สรุป               
               ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ  การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ




ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล :  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
พจน์ สะเพียรชัย.  (
2516).  หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1.  กรุงเทพฯ : วิทยาลัยวิชาการศึกษา  ประสานมิตร
รวีวรรณ ชินะตระกลู.  (
2540).  วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.





ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation ) / ขอบเขตการทำวิจัย

              จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:126)  กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
                นิรันดร์   จุลทรัพย์ (
2552:293)  กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้           

                 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222)  กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา



สรุป
                ข้อจำกัดในการวิจัย  (
Limitation ) / ขอบเขตการทำวิจัย  คือ ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองในการวิจัย โดยผู้วิจัยไม่สามารถควบคุม หลีกเลี่ยงได้ และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้การวิจัยได้ผลไม่สมบูรณ์




ที่มา
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ
.  (2552).  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่1).  กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
นิรันดร์  จุลทรัพย์
.  (2552).  การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.  (พิมพ์ครั้งที่2).  กรุงเทพฯ : นำศิลป์โฆษณา. 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.  (2545).  สถิติและการวิจัยทาสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่1).  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


               
               

ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)

               ภิรมย์ กมลรัตนกุล  ( http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงปัญหาทางจริยธรรมไว้ว่า  การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
                การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้

                1.  งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
                2.  การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
                3.  การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
                4.  ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
                5.  ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
                                ก.  อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้

                                ข.  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
                                ค.  ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
                                ง.  ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
                6.  ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
                7.  จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
                8.  ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร             โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ

                http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงปัญหาทางจริยธรรมไว้ว่า
                     
1.   การสร้างวัฒนธรรมยึดมั่นที่จะไม่แอบอ้างลอกเลียนความรู้ของผู้อื่น ว่าเป็นความคิดของตน   ที่เรามักใช้ศัพท์ว่า “โจรกรรมวิชาการ” (plagiarism)   นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสังคมไทย   หากเราจะสร้างสังคมที่คนในสังคมเป็นผู้มีปัญญา มีความคิด มีวิจารณญาณของตนเอง เราต้องไม่ยอมให้ลูกของเรา หรือลูกศิษย์ของเราทำการบ้านโดยใช้วิธีค้น อินเทอร์เน็ต แล้วตัดปะ    วัฒนธรรมตัดปะคือวัฒนธรรมโจรกรรมวิชาการ    เวลานี้สังคมไทยเรากำลัง “สอนลูกให้เป็นโจร” กันอยู่โดยไม่รู้ตัว
                       2.  ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรของสังคมในการทำงานวิจัยที่ไร้ประโยชน์ หรืองานวิจัยที่คุณภาพต่ำ ไม่น่าเชื่อถือ   ส่วนนี้น่าจะเป็นจริยธรรมของหน่วยงาน  ของวงการวิชาชีพ  ที่จะจัดระบบพัฒนาขีดความสามารถในการตั้งโจทย์วิจัย   พัฒนาวัฒนธรรมที่พิถีพิถันในการตั้งโจทย์วิจัย  คำหลักคือ วิจัยเพื่อสังคม  ไม่ใช่วิจัยเพื่อนักวิจัย   ไม่ใช่วิจัยเพื่อสถาบันวิจัย
                        3.  ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรวิจัยของสังคมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือคอรัปชั่น  ต้องไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงบประมาณวิจัย   เช่นเอาไปเที่ยวต่างประเทศ  กำหนดในงบวิจัยที่จ้างบุคคลภายนอกดำเนินการให้ต้องซื้อของตอบแทนหน่วยงานหรือบุคคล
                        4.  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยไว้ดังนี้ จรรยาบรรณนักวิจัยหมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
                                ข้อ 1.  นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ   นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
                                ข้อ 2.  นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณี ในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงาน ที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฎิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงาน ระหว่างดำเนินการ
                                ข้อ 3.  นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน ปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือ การสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่องานวิจัย
                                ข้อ 4.  นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืชศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
                                ข้อ 5.  นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่ หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
                                ข้อ 6.  นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียง ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
                                ข้อ 7.   นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบ จนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย ไปในทางมิชอบ
                                ข้อ 8.  นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล และขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข งานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
                                ข้อ 9.  นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนึก ที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญ และประโยชน์สุข ของสังคมและมวลมนุษยชาติ
                5.  ผมมองว่าจรรยาบรรณนักวิจัย  ข้อของ วชมีความครบถ้วนเพียงพอสำหรับการนำไปปฏิบัติให้เป็นนักวิจัยที่ดี   ให้วงการวิจัยไทยเป็นวงการที่มีคุณธรรม มีจริยธรรมในการวิจัย   แต่ยังขาดการจัดการเพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาคปฏิบัติ   และยังย่อหย่อนการตรวจสอบเอาจริงเอาจังต่อการประพฤติผิด                6.  มองอีกมุมหนึ่ง ผมคิดว่าเรื่องจริยธรรม จะให้ได้ผลจริงต้องครบองค์  ของวัฏฏจักรการเรียนรู้  คือปริยัติ  ปฏิบัติ  ปฏิเวธ    ที่จริงผมอยากให้เอา ปฏิบัติขึ้นต้น เพราะสำคัญที่สุด   และต้องเอาผลของการปฏิบัติมาเป็นประเด็นเรียนรู้ต่อเนื่องด้วย   สังคมไทยเราขาดการเน้นปฏิบัติ และขาดเรื่องปฏิเวธ ในเรื่องจริยธรรมของการวิจัย 
               
7.  การวิจัยในมนุษย์ต้องได้รับการระมัดระวังเป็นพิเศษ    ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ค้นได้จากสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์   โดยมีหลักการสำคัญ  หลัก ตามที่ระบุไว้ใน The Belmont Report คือ หลักความเคารพในบุคคล  หลักผลประโยชน์  และหลักความยุติธรรม    สถาบันวิจัยควรขอเอกสารจากสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ไปไว้ใช้อ้างอิงในการดำเนินการ   รายงาน เบลมองต์ นี้ สถาบันฯ จัดแปลและพิมพ์เป็นเล่มเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เอาขึ้น เว็บไซต์   
                8.  ได้กล่าวแล้วว่า เรื่องจริยธรรม นี้ต้องมีทั้ง  หลักการ (ทฤษฎีการบังคับใช้(ปฏิบัติ)  และเห็นผลจากการบังคับใช้ (ปฏิเวธ)    หน่วยงานที่ผู้บันทึกได้รับทราบว่ามีครบทั้งองค์ ๓ในการดำเนินการเรื่องจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ผลงานวิจัยในมนุษย์ที่ศิริราชหากไม่ได้รับ COA (Certificate of Approval) จาก EC (Ethics Committee) จะเอาไปตีพิมพ์ไม่ได้ เพราะบรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์   จะเอาไปขอตำแหน่งวิชาการก็ไม่ได้    ขอการสนับสนุนไปเสนอผลงานในประเทศหรือต่างประเทศไม่ได้  ฯลฯ   เข้าใจว่าทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลใช้แนวทางนี้   และที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน
                องอาจ  นัยพัฒน์(2548:24)  ได้กล่าวไว้ว่า  ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.  การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.  การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.  การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

สรุป
                การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
                การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้

                1.  งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
                2.  การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
                3.  การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
                4.  ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
                5.  ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
                                ก.  อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้

                                ข.  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
                                ค.  ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
                                ง.  ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
                6.  ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
                7.  จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
                8.  ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร                 

                โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ





ที่มา
ภิรมย์  กมลรัตนกุล
:  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html   เข้าถึงเมื่อวันที่  4  มกราคม  2555.
องอาจ  นัยพัฒน์.  (
2548).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.