วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อการสอนหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


                http://www.edteshno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adptive-hyprmedia-&cdtid=1  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วย คือ การออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตาม ความสามารถและต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบราย บุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้โดย 3 องค์ประกอบ
                1.  รูปแบบหลัก จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่เหมาะสมกับความต้อง การและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ กับเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ
                2.  รูปแบบผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน แต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองราย บุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็นระดับความรู้ ความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การรัยรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ
                3.  รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อ หลายมิติแบบปรับตัวได้

                http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า   ในการเรียนการสอนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
                1.  เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
                2.  ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
                                -  ดูแผนภาพหรือภาพวาด
                                -  ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
                                -  ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
                3.  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
                4.  ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
                5.  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
                6.  ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป

                http://www.edtechno.com  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
                1.  รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
                2.  รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
                3.  รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)


สรุป
                รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วย คือ การออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตาม ความสามารถและต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบราย บุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้โดย 3 องค์ประกอบ
                1.  รูปแบบหลัก จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่เหมาะสมกับความต้อง การและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ กับเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ
                2.  รูปแบบผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน แต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองราย บุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็นระดับความรู้ ความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การรัยรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ
                3.  รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อ หลายมิติแบบปรับตัวได้




ที่มา
http://www.edteshno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adptive-hyprmedia-&cdtid=1 . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
http://www.edtechno.com . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.

สื่อประสม คืออะไร


                http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึง  การนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และ ลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation)

                http://www.ipesp.ac.th/learning/technology/html/shap5/bot5-2.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  สื่อประสม  หมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงานหรือการเรียนการสอนสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้ฟังหรือผู้เรียนมิได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อนั้นโดยตรง

               http://yupapornintreewon017.page.  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า ในการใช้สื่อการสอนต่าง  เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกันหลาย  อย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” ( Multimedia ) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่าง  มาใช้ร่วมกัน โดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสมโดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” ( Teaching Package ) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชา และเป็น “ ชุดการสอน ” ( Learing Package ) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง สื่อประสมแต่ละชุดจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยสื่ออะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของการใช้ โดยทั่วไปแล้วชุดสื่อประสมจะจัดอยู่ในกล่องหรือแฟ้มซึ่งประกอบด้วย  
                1.  คู่มือ สำหรับผู้สอนในการใช้ชุดการสอน และสำหรับผู้สอนในชุดการเรียน
                2.  คำสั่ง เพื่อกำหนดแนวทางในการสอนหรือการเรียน
                3.   เนื้อหาบทเรียน จัดอยู่ในรูปของสไลด์ ฟิล์มสทริป เทปบันทึกเสียง วัสดุ
กราฟิก ม้วนวีดีทัศน์ หนังสือบทเรียน ฯลฯ
                4.  กิจกรรมการสอน เป็นการให้ผู้เรียนทำรายงาน กิจกรรมที่กำหนดให้หรือค้นคว้าต่อจากที่เรียนไปแล้วเพื่อความรู้ที่กว้างขึ้น
                5.   แบบทดสอบ เป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนนั้นเพื่อการประเมิน


สรุป
                สื่อประสม  หมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงานหรือการเรียนการสอนสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้ฟังหรือผู้เรียนมิได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อนั้นโดยตรง




ที่มา
http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
http://www.ipesp.ac.th/learning/technology/html/shap5/bot5-2.html . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
http://yupapornintreewon017.page.  เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.

สื่อการสอน คืออะไร

                                     
                http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

                กระบวนการพัฒนาและผลิต 0503  780 เทคโนโลยีการเรียนการสอน ( http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/39982/unit04_003.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า
               
เกอร์ลัช และอีลี
 (Gerlach and Ely) กล่าวว่า  "สื่อการสอน"  หมายถึง บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
                กิดานันท์ มลิทอง  กล่าวว่า  "สื่อการสอน"  หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึง วัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้     
               
ชัยยงค์ พรหมวงศ์  ให้ ความหมายของ "สื่อการสอน" ว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และ ทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               
ไชยยศ เรืองสุวรรณ  กล่าวว่า "สื่อการสอน"  หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น     
                เปรื่อง กุมุท  กล่าวว่า  "สื่อการสอน"  หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือ ช่องทางสำหรับทำให้การสอน ส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวาดไว้ได้เป็นอย่างดี
                ไฮนิช (Heinich) และคณะ  ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า  " สื่อการสอน"
หมายถึงสื่อหรือตัวกลางชนิดใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอแผนภูมิ ภาพนิ่ง เป็นต้น ซึ่งบรรจุเนื้อหา ข้อความเกี่ยวกับการเรียนการสอน

                ผศ.กิตติคุณ ชลวิถี  ( http://www.eqd.rmutt.ac.th/document/CENTER01.pdf  )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า   ความหมายของสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง ตัวกลาง หรือช่องทางในการส่งและรับข้อมูล เนื้อหา สาระต่าง ๆ ของการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจตรงกันทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัยและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวกได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ


สรุป
                สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ  และเป็นตัวกลาง หรือช่องทางในการส่งและรับข้อมูล เนื้อหา สาระต่าง ๆ ของการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจตรงกันทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัยและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวกได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ




ที่มา
http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
กระบวนการพัฒนาและผลิต 0503  780 เทคโนโลยีการเรียนการสอน : http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/39982/unit04_003.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.
ผศ.กิตติคุณ ชลวิถี :  http://www.eqd.rmutt.ac.th/document/CENTER01.pdf . เข้าถึงเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม 2555.

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


                http://thaigoodview.com/node/33672?page=0%2C1   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงบทความนี้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้วิถีความเป็นอยู่ของสังคมเปลี่ยนไปอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกครั้งใหญ่  อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง  ทั้งการดำเนินชีวิต   เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การศึกษาและอื่นๆ   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ           
                ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา 
                1.  เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียระบบวิดีโอออนดีมานด์,  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
                2.  เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
                3.  เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information2.html   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงบทความนี้ว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษา อย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มี บทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
                1.  เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเรียนรู้
                2.  เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็น ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่ สำคัญในเรื่องนี้
                3.  เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                http://www.kmitl.ac.th   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงบทความนี้ว่า ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
                1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ      
                2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
                3.
  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
               4.  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
                5.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
                6.  เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
                เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ


สรุป
                เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้วิถีความเป็นอยู่ของสังคมเปลี่ยนไปอย่างมาก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ           
                ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา 
                1.  เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียระบบวิดีโอออนดีมานด์,  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
                2.  เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
                3.  เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์




ที่มา
http://thaigoodview.com/node/33672?page=0%2C1 . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information2.html  . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
http://www.kmitl.ac.th . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


                Iabtem  จัดเต็มดอทคอม ( http://www.jadtem.com/4473/ ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
                ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (
information and communications technology ย่อว่า ICT)

                ITeXcite  เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร ( http://www.itexcite.com/article/html ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา

                http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html#sect3  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
                สหชาติ  สรรพคุณ (2550:2) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น 

 สรุป
                เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย  และเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น 




ที่มา
Iabtem  จัดเต็มดอทคอม :  http://www.jadtem.com/4473/ . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
ITeXcite  เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร : http://www.itexcite.com/article/html .เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html#sect3 . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


                หนังสือใหม่ : Book4u  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. หนังสือด้านเทคโนโลยี สาขาต่างๆ ด้านการบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร  ( http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า   คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า " วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "
                พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ " วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
                ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
                สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
                ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
                ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
               
                http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่างๆ บรรลุผล พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าหมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอา
วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น3ลักษณะ คือ(Heinich,Molendaand Russell. 1993 : 449)
                1.  เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ( process)เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                2.   เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต(product)หมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
                3.  เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต(process and product)เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา(Encarta1999)ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี(Technology)ไว้ว่าTechnologyเป็นคำที่มาจากภาษากรีก2คำรวมกัน คือTekhneหมายถึงศิลปหรืองานช่างฝีมือ(art of craft)และlogiaหมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา(art of study)ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้วเทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                พจนานุกรมเว็บสเทอร์(Websters1994)ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไว้ดังนี้1).การใช้ทางวิทยาศาสร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข.องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้2)องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูนฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
               บราวน์(Brown)กล่าวว่าเทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล(Dale 1969)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท(Galbraith1967)ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
 ครรชิต มาลัยวงศ์(2539)ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
                1.  องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
                2.  การประยุกต์วิทยาศาสตร์
                3.  วัสดุ เครื่องยนต์กลไกเครื่องมือ
                4.  กรรมวิธีและวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
                5.  ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
                กล่าวอีกนัยหนึ่งเทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

                สุพิทย์กาญจนพันธุ์(2541)  หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผนการประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบโดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือเพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต(2528)กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผลและ

                http://www.thaigoodview.com/node/92433 ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา


สรุป
                เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น




ที่มา
หนังสือใหม่ : Book4u  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. หนังสือด้านเทคโนโลยี สาขาต่างๆ ด้านการบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร :  http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.
http://www.thaigoodview.com/node/92433 . เข้าถึงเมื่อวันที่  30  กรกฎาคม 2555.

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


                CEIT Knowledge Management  ฐานความรู้ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ( http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 )  ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา  (Educational Innovation) คือ  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

                Board กศน.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา  ( http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0 ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) คือ  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

             มหาวิทยาลัยรามคำแหง  สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ  ( http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงบทความนี้ว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) คือ  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

สรุป
                นวัตกรรมทางการศึกษา  คือ  การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต



ที่มา
CEIT Knowledge Management  ฐานความรู้ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  November 25th, 2008  Author adminhttp://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 .  เข้าถึงเมื่อวันที่  19  กรกฎาคม 2555.
Board กศน.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธย : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0 .  เข้าถึงเมื่อวันที่  19  กรกฎาคม 2555.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง  สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 . เข้าถึงเมื่อวันที่  19  กรกฎาคม 2555.